4369 จำนวนผู้เข้าชม |
การปฐมพยาบาลบาดแผลปิด
บาดแผล หมายถึง การบอบช้ำ หรือ/และการฉีกขาดของผิวหนัง/กล้ามเนื้อของร่างกาย
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับสิ่งที่มากระทบและตำแหน่งของการบาดเจ็บ
โดยทั่วไปเราแบ่งบาดแผลออกเป็น 2 ชนิด เพื่อให้ง่ายต่อการปฐมพยาบาลนั่นเอง
บาดแผลปิด ได้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายจากวัสดุไม่มีคมมากระทบเช่น ถูกต่อย สิ่งของหล่นใส่ มีอาการฟกช้ำ บวม เขียวช้ำ เป็นต้น
บาดแผลเปิด ได้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายและมีการฉีกขาดของผิวหนังและกล้ามเนื้อ มีเลือดซึมออกมา
ต่อไปเรามาดูวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้บาดเจ็บที่ได้รับอันตรายและมีลักษณะบาดแผลแบบประเภทปิด
เหตุใดเมื่อถูกวัสดุหล่นใส่หรือถูกกระแทก บาดแผลบริเวณนั้นจึงมีอาการบวม ช้ำเขียว ?
ก็เนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยบริเวณดังกล่าวได้รับการกระแทกและมีผลทำให้เส้นเลือดฝอยแตก หากเปรียบเส้นเลือดฝอยเป็นท่อประปา หัวใจเป็นเครื่องปั๊มน้ำ ทุกครั้งที่หัวใจมีการเต้น จะมีการสูบฉีดเลือดไปตามท่อ เมื่อมีรูหรือมีการฉีกขาดของเส้นเลือด เลือดก็จะไหลออกจากท่อ ไปคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังเป็นสาเหตุของการบวม เมื่อรู้ถึงสาเหตุของการบวม ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุเช่นกัน นั่นคือทำให้รูที่แตกของเส้นเลือดฝอยเล็กลงเพื่อให้เลือดไหลออกน้อยลง โดยการใช้หลักการที่เรียกว่า
RICE
R = Rest
ให้ผู้บาดเจ็บหยุดการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บทันที เพราะการเคลื่อนไหว ยิ่งทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตกมากขึ้น พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้เร็วที่สุด
I = ICE ใช้รีบใช้ความเย็นหรือน้ำแข็งประคบ/วางบนบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ อย่างน้อยประมาณ 15-30 นาทีหลัังเกิดเหตุ หากเป็นน้ำแข็งให้ห่อด้วยผ้าที่ชุบน้ำหมาดๆจะเป็นการกระจายความเย็นได้ดีที่สุด ประคบด้วยความเย็นไปตลอดเมื่อมีโอกาสใน 1 วันแรกหลังได้รับอุบัติเหตุ หลัง 1 วันหรือหลัง24ชม.แรก ใ้ห้เปลี่ยนมาใช้น้ำอุ่นประคบ เพื่อให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เลือดที่คั่งอยู่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่ายกายได้ง่ายขึ้น ลดอาการบวมลงได้
C = COMPRESSION
ยึดเพื่อไม่ให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น อันจะส่งผลให้เส้นเลือดและกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวฉีกขาดเพิ่มขึ้น โดยการใช้ผ้ายืดพัน การพันผ้ายืดควรพันให้กระชับ ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป สิ่งสำคัญควรเลือกขนาดหรือไซส์ของผ้าให้มีความเหมาะสมกับขนาดของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผ้ายืดขนาด 2-3 " ให้ใช้พันบริเวณมือ ข้อมือ ขนาด 4-5 " พันบริเวณ ต้นแขน ขาส่วนปลาย ขนาด 6 " พันบริเวณตันขา สะโพก หน้าอก เป็นต้น
E = ELEVATION
ยกอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ จะมีผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณได้รับการบาดเจ็บน้อยลง ส่งผลให้เกิดการบวมลดลง
QR CODE ขอรับรายละเอียดหลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม