17555 จำนวนผู้เข้าชม |
ปฏิบัติการช่วยชีวิต เวอร์ชั่น 2020 ( CPR 2020 )
สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตปี ค.ศ.2020 ตาม guidelines American Heart Association, The Heart Association of Thailand และ Thai Resuscitation Council
แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพปี 2020 ได้มีการปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยแบ่งเป็น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล (In-hospital cardiac arrest ; IHCAs) และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrests ; OHCAs )เช่นเดียวกับปี 2015 แต่มีการเพิ่มห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตที่ 6 เข้ามา คือ "Recovery" ซึ่งเป็นห่วงโซ่ที่เน้นการดูแลผู้บาดเจ็บหลังจากที่หัวใจกลับมาเต้นอีกครั้งทั้งในหอผู้ป่วยวิกฤต(ICU) และการดูแลต่อเนื่องหลังจากที่ผู้บาดเจ็บ dicharge ออกจากโรงพยาบาล ดูภาพด้านล่าง
เป็นห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตในโรงพยาบาลโดยจะเน้นที่การเฝ้าระวังของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤต ระบบการดูแลจะขึ้นอยู่กับการประสานงานของหน่วยงานของหน่วยงานในโรงพยาบาล
เป็นห่วงโซ่แห่งรอดชีวิตนอกโรงพยาบาล เน้นการพึ่งพาชุมชนและผู้เห็นเหตุการณ์ขณะนั้น ให้เริ่มทำการช่วยชีวิต รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าที่มีในสถานที่สาธารณะ
ในบทความนี้ขอกล่าวเฉพาะห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตนอกโรงพยาบาลที่เน้นให้ผู้เห็นเหตุการณ์เริ่มปฏิบัติการฟื้นคืนชีพให้เร็วที่สุด ก่อนอื่นอยากให้ผู้อ่านรู้จักคำศัพท์เหล่านี้ก่อน
ทำไมผู้อ่านต้องรู้จักคำเหล่านี้ เพราะบุคลากรเหล่านี้คือหัวใจสำคัญในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ท่านจะเห็นว่า 3 ห่วงโซ่แรก เป็นหน้าที่หลักของ lay rescuer โดยมี dispatcher เป็นผู้ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์ EMS และแจ้งสถานที่เก็บเครื่อง AED รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า การเข้าถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าของ lay rescuer ต้องเร็วที่สุด เพราะนั่นหมายถึงการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจะมีสูงขึ้นทันที
เวอร์ชั่น 2020 เน้นเรื่องคุณภาพการช่วยชีวิตเป็นอย่างมาก ( Quality CPR )ด้วย 4 คำนี้ คือ
นอกจากนั้น ต้องหยุดกดหน้าอกให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งของการกดหน้าอกให้ได้สูงที่สุด การรบกวนการกดหน้าอกควรเกิดขึ้นแค่ในช่วงของการวิเคราะห์ดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการช่วยหายใจเท่านั้น ค่า Chest compression fraction หรือสัดส่วนช่วงเวลาการกดหน้าอกเทียบกับช่วงเวลาในการทำ CPR ทั้งหมด ควรต้องมีค่ามากกว่า 60
เวอร์ชัน2020เน้นการเข้าถึงเครื่อง AED(Automated External Defibrillator)ให้เร็วที่สุด จึงมีการเปลี่ยนชื่อจาก AED เป็น PAD (Publicaccess Defibrillator) เพื่อสร้างความรู้สึกให้กับประชาชนว่าเครื่องดังกล่าวสามารถใช้ได้แม้ประชาชนที่ไม่เคยได้รับการฝึกการใช้เครื่องมาก่อน
กระบวนการการช่วยชีวิตของ lay rescuer ค.ศ. 2020
ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต้องประเมินสถานะการณ์ความปลอดภัย ก่อนเสมอ
จากนั้นทำการประเมินความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ หากพบว่าหมดสติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลข้างเคียง หรือ โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ 1669 หากมีเครื่อง AED อยู่ใกล้ให้วิ่งไปหยิบมาก่อน หรือวานให้บุคคลใกล้เคียงไปหยิบมา
ทำการเช็คการหายใจและชีพจร ภายในเวลา 10 วินาที หากพบว่าหยุดหายใจ หรือมีภาวะหายใจเฮือก ( gasping ) ให้เริ่มกระบวนช่วยฟื้นคืนชีพทันที
หากมีเครื่องช็อกไฟฟ้ามาถึง ให้รีบเปิดระบบใช้งานทันที
ปล่อยให้เครื่องช็อคไฟฟ้าวิเคราะห์คลื่นหัวใจ หากพบว่าเป็นคลื่นไฟฟ้าที่สามารถช็อกได้ให้ทำการกดช็อกทันที และทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาที ก่อนหยุดให้เครื่องช็อกไฟฟ้าวิเคราะห์คลื่นหัวใจอีกครั้ง
กรณีที่เครื่องช็อคไฟฟ้าไม่พบคลื่นที่สามารถช็อกได้ ให้ทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาทีเช่นกันแล้วจึงหยุดให้เครื่องวิเคราะห์คลื่นหัวใจ
ทำการ CPR อย่างต่อเนื่องจนกว่าทีม EMS จะมาถึง ดัง Flow Chart CPR ด้านล่าง
CPR Algorithm 2020
QR CODE ติดต่อขอรับรายละเอียดหลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม