3210 จำนวนผู้เข้าชม |
การประเมินความรุนแรงผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก
จากบทความครั้งก่อนเรื่องการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก เราแบ่งชนิดของการหักของกระดูกเป็น 2 ชนิด คือ หักแบบเปิด และหักแบบปิด ซึ่งขอไม่กล่าวในบทความนี้ สิ่งที่หลายท่านสนใจและเกิดคำถามตามมาคือ แล้วกระดูกที่หักนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน หากเราต้องการประเมินความรุนแรงของการหักในครั้งนั้นให้เราใช้เทคนิคการประเมินที่เรียกว่า " LAF "
Type of Fracture
" LAF " เป็นคำย่อที่เราจะนำมาใช้ทุกครั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของการหักและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียง ซึ่งย่อมาจาก
" L " หมายถึง " LOOK " ให้ผู้ช่วยเหลือประเมินโดยการสำรวจหรือสังเกตอวัยวะส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือหัก ว่าลักษณะอย่างไร เช่น ชนิดของการหัก การผิดรูป โค้งงอ การบวม ลักษณะของแผล มีเลือดไหลแบบ Active Bleeding หรือไม่ การเปรียบเทียบกับด้านที่ปกติ เป็นต้น
" A " หมายถึง " ASK " กรณีที่ผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ ให้ผู้ช่วยเหลือสอบถามอาการโดยตรงกับผู้บาดเจ็บ เกี่ยวกับการเจ็บปวด ลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงกับอวัยวะส่วนอื่นได้อีก
" F " หมายถึง " FEEL " สอบถามอาการเจ็บปวด ความรู้สึก อาการชา ซึ่งอาจหมายถึงระบบประสาทสั่งการส่วนนั้นได้รับการบาดเจ็บร่วมด้วย
นอกจากการใช้เทคนิค LAF อย่างที่กล่าวมาแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องมีการประเมินการบาดเจ็บของร่างกายอีกสองระบบ คือระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท ว่าทั้งสองระบบดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการหักของกระดูกด้วยหรือไม่ โดยการใช้ เทคนิคตัวย่อที่เรียกว่า " CSM "
" C " หมายถึง " Circulation " ผู้ช่วยเหลือตรวจเช็ค ระบบไหลเวียนโลหิตที่ไหลมาเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย ที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บว่ายังมีเลือดไหลมาเลี้ยงพอหรือไม่ โดยเช็คได้สองวิธีดังนี้
การประเมินระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ทราบความรุนแรงที่เกิดขึ้นอวัยวะที่หักและอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง เป็นการประเมินความเร่งด่วนที่ต้องให้ความช่วยเหลือหรือเคลื่อนย้ายนำส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว หลังจากประเมินความรุนแรงของอวัยวะส่วนที่หักได้แล้ว ลำดับต่อไปที่นักปฐมพยาบาลต้องปฎิบัติต่อคือการทำให้ส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บอยู่นิ่ง โดยการดาม ( Splint ) ซึ่งเป็นบทความที่ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
QR CODE ขอรับรายละเอียดหลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม