4903 จำนวนผู้เข้าชม |
สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ จะทำอย่างไร?
สิ่งที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยของผู้เข้าช่วยเอง หากผู้เข้าช่วยเหลืออยู่ในบริเวณที่ยังมีสารพิษรั่วไหลอยู่ ผู้เข้าช่วยต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนทุกครั้ง การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บให้เคลื่อนย้ายมาไว้ยังที่ที่ปลอดภัย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องอยู่เหนือลม ดูแลรักษาตามอาการ ให้อ๊อกซิเจน (หากมี ) ให้ได้ทั้งชนิด canula และ mask
สารพิษดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จะทำอย่างไร?
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีสารพิษที่ลักษณะเป็นผงฝุ่น เกาะตาม ผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ต่างๆ ใช้หลักการปฐมพยาบาล 2 ข้อหลักด้านบนมาประยุกต์ใช้ได้โดยการขจัดออกและทำให้เจือจาง แต่ที่สำคัญต้องจำ Step หรือขั้นตอนในการช่วยเหลือให้ดี เพราะหากไม่ทำตามขั้นตอนอาจส่งผลให้ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้บาดเจ็บไ้ด้ การให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนดังนี้
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ได้รับสารพิษลักษณะเป็นของเหลวกระเด็นเข้าตา
ใช้หลักการทำให้สารพิษเจือจางลงเป็นหลัก ห้ามใช้วิธีการขจัดออกด้วยการเช็ดเด็ดขาด เพราะ อาจมีผลทำให้เนื้อเยื่อตา หลุดออกมา ให้ใช้วัสดุที่ดุดซึมได้ดีวางเบาๆบริเวณที่ได้รับสารพิษ
การทำให้สารพิษเจือจางลงโดยการล้างตา แต่ต้องมีเทคนิคการล้างที่ถูกต้อง ไม่ใช้วิธีการล้างตาด้วยถ้วยล้างตาเด็ดขาด เพราะการล้างด้วยน้ำจำนวนน้อย อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สารพิษนั้นแพร่กระจายมากขึ้น ไม่ควรใช้วิธีล้างตา ด้วยเครื่องล้างตาที่มีแรงดันน้ำสูงๆ เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาบางส่วนหลุดได้
การล้างตาที่ถูกต้อง บอกให้ผู้บาดเจ็บนอนตะแคงเอียงศีรษะและดวงตาด้านที่สัมผัสกับสารพิษลงล่าง เปิดเปลือกตาบน-ล่างของผู้บาดเจ็บ เทน้ำหรือน้ำยาล้างตาให้สัมผัสกับดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านดวงตาที่บาดเจ็บ ห้ามเทน้ำให้กระทบหรือสัมผัสกับดวงตาโดยตรง เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาหลุดได้
ผู้บาดเจ็บที่ถูกวัสดุปักคาบริเวณดวงตา( เศษหินเจียร เศษเหล็ก เป็นต้น )
ห้ามใช้วิธีการขจัดออกโดยการเขี่ยวัสดุเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เศษวัสดุฝังลึกลงไปอีก การรักษาดังกล่าวอยู่นอกเหนือความสามารถที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะทำได้ ให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ส่งโรงพยาบาล แต่ขณะทำการเคลื่อนย้าย ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยการปิดดวงตาที่ได้รับการบาดเจ็บ การปิดดวงตาที่ถูกต้อง ให้ใช้กรวยหรือแก้วปิดครอบไปที่ดวงตา ที่ได้รับการบาดเจ็บโดยไม่ให้โดนดวงตา และพันด้วยผ้ายืดหรือผ้าก๊อส การปิดตาต้องปิดทั้งสองข้าง เพราะหากปิดเฉพาะด้านที่บาดเจ็บ ตาด้านที่ปกติยังคงเคลื่อนไหวอยู่ จะส่งผลให้ตาด้านที่เจ็บเคลื่อนไหวตามไปด้วย ห้ามใช้แผ่นปิดตา ( Eye pad ) หรือผ้าปิดทับไปที่่ดวงตาเด็ดขาดเพราะจะทำให้เศษเหล็กฝังลึก ลงไปอีก